ประวัติวัด

วัดพุทธนานาชาติ เป็นวัดแรกๆ ของออสติน เท็กซัส


วัดพุทธนานาชาติ ออสติน
Wat Buddhananachat of Austin
8105 Linden Rd.Del Valle, TX 78617
Tel. (512)247-4298, Fax : (512) 2474505
E-mail : wataustin@gmail.com





ประวัติภาษาอังกฤษ
ความเป็นมา

          วัดพุทธนานาชาติ ได้จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นกับทางการราชการมลรัฐเท็กซัส เมื่อวันที่ สิงหาคม 2529  (ค.ศ. 1986)โดยแถลงวัตถุประสงค์ของวัดฯ พร้อมกับยื่นธรรมนูญของวัด (By-Laws) เสนอไปด้วย  
ก่อนที่วัดนี้จะถือกำเนิดมา คุณบัวพันธ์ เฮนเดอร์สัน ได้วางโคงการสร้างวัดอยู่ถึง 8 ปี มาเมื่อ พ.ศ. 2528 คุณบัวพันธ์ได้ปรึกษากับ พระ ดร.ภิกขุวิเวกนันทะ นาคสิริ ซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดพุทธวราราม นครเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ในที่สุดในวันที่ 19 เมษายน 2529 (ค.ศ. 1986) คุณบัวพันธ์และญาติมิตรได้นิมนต์





พระ ดร.ภิกขุวิเวกนันทะ นาคสิริ พร้อมพระสงฆ์อีก12 รูป ซึ่ง ได้เดินทางมาจากประเทศไทยเพื่อมาดูงานพระศาสนาในสหรัฐอเมริกา มีท่านพระครูปลัดวีระ ธมฺมวีโร วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ มหาวีโรภิกขุ จากนครเดลฮี ณ ประเทศอินเดีย พระอาจารย์สงวน จังหวัดสระบุรี พระมหาสุรเดช วัดมหาพฤฒาราม พระนพเกตุ ธมฺมโร พระกนก กตสาโร พระมหาภิรมย์ ธมฺมภิโร แห่งวัดพุทธวราราม นครเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ได้ไปประชุมกัน ที่บ้าน คุณบัวพันธ์และได้ตกลงกันสร้างวัดพุทธนานาชาติขึ้นมา  ในวันนั้นโดยคุณบัวพันธ์ได้เสนอจะถวายที่ดิน ส่วนหนึ่งจำนวน เอเคอร์ในผืนดินที่เป็นที่พักอาศัยของคุณบัวพันธ์เอง เพื่อให้เป็น ที่ตั้ง วัด แรกเริ่มวัดฯ มีเพียงเทรลเลอร์ หลัง ตั้งอยู่ในที่ดินของคุณบัวพันธ์ เฮนเดอร์สัน



วัดตั้งอยู่ ณ สถานที่เดิมมาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี จึงได้ย้ายไปอยู่ในที่ดินอีกผืนหนึ่ง ซึ่งอยู่ บนถนนเดียวกัน ( LINDEN RD)กับสถานที่เดิม เมื่อวันที่ 1กรกฎาคม 2530 สถานที่ใหม่ นี้ มี ขนาด พื้นที่ เอเคอร์ คณะกรรมการบริหารชุดก่อตั้งวัดฯ เป็นผู้ดำเนินการเลือกสรรที่ดินผืนนี้ โดยมี คุณจำรัส แม็คเฟียร์สัน และ คุณจินดา ดุลย์ (บุตรสาวคุณบัวพันธ์) เป็นผู้วางเงินล่วงหน้าและเซ็นสัญญาซื้อที่ดินแทนวัดไปก่อนจนกว่าวัดจะสามารถหาทุน มาวางและทำสัญญาซื้อที่ดินผืนนี้และรับช่วงการผ่อนชำระค่าที่ดิน ต่อจากคุณจำรัสและคุณจินดา วัดได้จ่ายเงินซื้อและรับโอนที่ดินในเดือนมิถุนายน ในปี พ.ศ. 2532  ในปัจจุบันวัดได้จ่ายค่าที่ดินหมดแล้ว



พระภิกษูที่จำพรรษาประจำวัดพุทธนานาชาติ
                     เมื่อก่อนจะตั้งวัดนี้ขึ้นมา คุณบัวพันธ์ และ คุณบัวศรี แก้วกนก (กรรมการบริหารวัดฯ ผู้หนึ่งใน คณะกรรมการบริหารชุดแรก) ได้หารือกับทางวัดพุทธวราราม นครเดนเวอร์ เกี่ยวกับ การสรรหา พระภิกษุมาจำพรรษา พระมหาภิรมย์ ธมฺมาภิรโต กับพระกนก กตสาโร แห่งวัดพุทธวราราม ได้ทำการ ติดต่อทาบทามพระ และในที่สุดได้นิมนต์พระภิกษุจากประเทศไทยมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดพุทธนานาชาติ รูป คือ พระมหาสมคิด วีรปญฺโญ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ และ พระถม ญาณธโร (ติสระ) วัดชลเฉลิมเขต จังหวัดนราธิวาส พระมหาสมคิดอยู่จำพรรษาได้ประมาณ 6 เดือนก็เกินทางกลับประเทศไทย พระถม ได้ติดต่อ ผ่านทางวัดพุทธวราราม และได้นิมนต์



พระชุ่ม สมาจาโร (นะมาเส) วัดชลเฉลิมเขต จังหวัดนราธิวาส มาอยู่จำพรรษาแทนพระมหาสมคิดตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2530 พระชุ่มได้ปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดพุทธนานาชาติ จนถึงวันที่ 10 มกราคม 2532 จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย ส่วนพระถม จำพรรษา ที่วัดฯ นี้นานที่สุด คือตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2529 จนถึงวันที่ 3กุมภาพันธ์ 2532


ในเวลาต่อมา ทางคณะกรรมการวัดพุทธนานาชาติ ได้ดำนินการติดต่อขอพระภิกษุมาจำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจให้ต่อเนื่องกันเพราะพระภิกษุที่อยู่เก่าได้ย้ายไปปฏิบัติศาสนกิจที่วัดเขมร เมืองดัลลัส ในวันที่ กุมภาพันธ์2532 พระประเสริฐ ปญฺญาสาโร(ภักดี) วัดพุทธวราราม นครเดนเวอร์ ได้เดินทางมาเยี่ยมญาติโยมและจำวัด อยู่วัดพุทธนานาชาติ ประจวบกับเป็นจังหวะที่หลังจากพระประเสริฐมาเป็นอาคันตุกะได้เพียงวันเดียว พระถมก็เดินทางไปต่างเมืองด้วยกิจส่วนตัวและย้ายไปปฏิบัติศาสนกิจสืบมา และทางคณะกรรมการก็ได้มอบหมายให้พระประเสริฐ ปญฺญาเสฏฺโฐ ทำหน้าที่แทนเจ้าอาวาสชั่วคราวไปด้วย พระประเสริฐ ก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจอย่างเต็มที่เต็มกำลังของท่าน ท่านได้เสนอให้ทางคณะกรรมการเห็นชอบด้วย กิจกรรม ของพระพุทธศาสนาทุกประการ




หลังจากนั้นพระประเสริฐ ได้ติดต่อนิมนต์พระมหาบัญชา สุทฺธจิตฺโต (เต็มพร้อม) จากวัดมงคลรัตนาราม เมือง Forth Walton Beach รัฐฟลอริด้าเพื่อมาปฏิบัติศาสนกิจที่วัดพุทธนานาชาติ เมืองออสติน รัฐเท็กซัส พระมหาบัญชา สุทฺธจิตฺโต เมื่อได้รับคำนิมนต์จากพระประเสริฐแล้ว ท่านก็มี ความเต็มใจรับจะมาช่วยปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดพุทธนานาชาติจึงได้กราบเรียนพระเดชพระคุณพระมงคลเทพโมลี แห่งวัดมงคลรัตนาราม เบิร์คเลย์ รัฐแคลิฟอร์เนียโดยมีหนังสือเป็นลายลักษณ์ อักษรอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 มีนาคม 2532 ได้มีการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการบริหารวัดฯ พระมหาบัญชา สุทฺธจิตฺโต และพระประเสริฐ ปญฺญาเสฏโฐ ได้เสนอในที่ประชุม ให้ทางคณะกรรมการยินยอมพร้อมใจกันในการที่จะนำวัด เข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งคณะกรรมการก็เห็นพร้อมต้องกันอย่างเป็นเอกฉันท์ พระประเสริฐ ได้อยู่ช่วยปฏิบัติ ศาสนกิจมาเป็นเวลา เดือน ก็ได้ย้ายออกเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ที่วัดเขมร ณ เมืองบอสตัน ใกล้นครนิวยอร์ค


เข้าสังกัดเป็นสมาชิกสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา

หลังจากนั้นทางสมัชชาฯ ได้ส่งหนังสือมาให้ไปประชุมสมัชชาที่วัดพรหมคุณาราม เมืองฟีนิกซ์ รัฐอริโซน่า ในวันที่ 25-26พฤษภาคม 2532 ทางคณะกรรมการ วัดพุทธนานาชาติ จึงได้อนุมัติให้พระมหาบัญชา สุทฺธจิตฺโต ไปประชุมสมัชชาฯ ร่วมด้วยพระประสิทธิ์ โกวิโท ผู้เป็นพระพี่ชายของพระประเสริฐและเคยมีถิ่นฐานอยุ่ในเมืองออสตินอยู่ก่อนแล้ว รู้เรื่องเกี่ยวกับ ทางวัดดี จึงให้เป็นตัวแทนของวัดด้วยอีกหนึ่งท่าน ยังมีพระดร.ภิกขุวิเวกนันทะ นาคสิริ ได้ช่วยชี้แจงตอบคำถามให้แก่สมาชิกของสมัชชาฯ ทราบเรื่องเกี่ยวกับวัดทั้งหมดจนเป็นที่พอใจของสมาชิก สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาทุกรูปยอมให้วัดพุทธนานาชาติเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาฯในการประชุมครั้งนั้น
การบริหารกิจการของวัดพุทธนานาชาติ

ตามบทบัญญัติของธรรมนูญแห่งวัดฯ กิจการต่าง ๆของวัดบริหาร โดยคณะกรรมการบริหาร ชุดหนึ่ง กรรมการมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกของวัดฯ และมีวาระในการปฏิบัติงาน 2 ปี การเลือกตั้งมีทุก ปี กรรมการจำหนึ่งในจำนวนทั้งหมด (พระภิกษุ 2รูป ฆราวาส คน) ส่วนตำแหน่งกรรมการฝ่ายสงฆ์เป็นประธานโดยตำแหน่งและพระสงฆ์จำนวน 2 รูป ดำรงตำแหน่งนี้โดยอัตโนมัติ จน กว่าจะลาออกจากวัด (ตามบทบัญญัติในธรรมนูญของวัด พระสงฆ์ที่ อยู่ประจำเป็กรรมการบริหารวัดฯ โดยตำแหน่ง)

นอกจากนี้วัดฯ ยังมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอีกชุดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยนายก เหรัญญิก และเลขานุการคณะกรรมการบริหาร เป็นผู้กำหนดนโยบายสำคัญ และตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการ และกิจกรรมวัด ในระหว่างการประชุมสามัญซึ่งมีขึ้นในวันเสาร์สุดท้ายของทุก ๆ เดือนหรือระหว่างการประชุมพิเศษการประชุมนัดสมาชิกทุกคนมีสิทธิ์เข้าร่วมอภิปรายหรือฟังได ้ แต่เฉพาะ กรรมการเท่านั้นมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงการประชุมจะมี การบันทึกรายงานไว้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
แต่ละปีคณะกรรมการ จะตั้งงบประมาณรายรับ-รายจ่ายในการดำเนินงานไว้ตลอดทั้งปี รายจ่าย ที่สำคัญก็มีค่าเช่าที่ ค่าก่อสร้าง ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น ในปี 2531 วัดได้รับเงิน บริจารวม กันกับเงินทุนที่ทางวัดหาได้จากการจัดงานเทศกาลต่าง ๆ ทั้งปีรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 35,876.80 เหรียญ รายจ่ายทั้งสิ้น 38,139.50 เหรียญ คงมีทุนสะสมเหลืออยู่ 7,737.30 เหรียญ ส่วนเงินทุนสะสมที่มี มาก่อนปี 2531 คงมีอยู่จำนวน 10,813.76 เหรียญ ดังนั้น เมื่อสิ้นปี 2531 วัดฯ จึงมีทุนอยู่รวมทั้งสิ้น 18,551.06เหรียญ


สภาพปัจจุบัน

วัดพุทธนานาชาติตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาด้วยแรงศรัทธาของพุทธนศาสนิกชนทั่วไป โดยไม่ได้จำกัดเชื้อชาติ เราจึงมีคำเป็นสโลแกนว่า “ Buddhist for all nationalities” โดยไม่ได้จำกัดว่าเป็นของชนชาติใดชาติหนึ่งแต่วัดเข้าเป็นสมาชิกอยู่ในสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อการบริหารงานคล่องตัวในการประสานงาน ในส่วนของพระสงฆ์



ศาลาการเปรียญ

วัดมีลักษณะเป็นห้องโถง ประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนาพระสาวก และพระพุทธรูปสำคัญของวัด เป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สามารถจุคนได้ประมาณ 150 กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรับปรุงขยายเพื่อรองรับสาธุชนที่เดินทางมาร่วมทำบุญซึ่งแต่ละครั้งจะมีสาธุชนมาร่วมงานอย่างมากมาย




กลอน "กุฏิเรา  เก่ามาก  อาจจะต้องรื้อ"

กุฏิเก่า เล่าขาน ตำนานซึ้ง
ว่าครั้งหนึ่ง เคยมีคุณ หนุนหนักหนา
กุฏิเก่า เล่าสืบสาน เนิ่นนานมา
สร้างบุญญา สร้างคน จนทรุดโทรม
่ยี่สิบปี มีดี ที่จารึก
จดบันทึก เก็บข้อมูล ทุ่มสั่งสม
ทำเว็บไซต์ วีดิโอ โชว์ให้ชม
ให้สาสม กับคุณ หนุนเนื่องนาน

กุฏิเก่า วัดออสติน ถิ่นวิเทศ
ไทยนเรศ ร่วมจิต คิดสร้างสาน
หลายเชื้อชาติ ร่วมจิต มิตรร่วมกัน
เป็นตำนาน ยิ่งใหญ่ล้น คนรู้ดี

มาบัดนี้ มีเหตุมาดฯ อาจต้องทุบ
พร้อมกับmove กุฏิไป ในครั้งนี้
ด้วยมีเหตุ เสื่อมอายุ ลุล่วงปี
รื้อครั้งนี้ มีเหตุผล คนเข้าใจ

ถึงเสียดาย อาลัยรัก อยากให้อยู่
อย่างที่รู้ สังขารา อายุขัย
ดุจปู่ย่า ชราแก แก่เกินวัย
เป็นรังใหญ่ ให้หนู อยู่ชุกชุม

ทั้งผุพัง สึกก่รอน บ่อนของหนู
มันเจาะรู อยู่กะตั๊ก สิ่งหมักหมม
แมลงสาป ก็อาศัย ให้ชุกชุม
สัตว์แย่งลุม กันใหญ่ ให้รำคาญ
ทั้งกลิ่นอับ จากเยี่ยวสัตว์ วัดนั้นแย่
พระหนุ่มแก่ แพ้สิ้น กลิ่นสาปสาง
สุขภาพ แต่ละองค์ หมดหนทาง
จะทิ้งขว้าง อย่างไร ให้อดทน
ทั้งหมดนี้ คือเหตุผล คนยอมรับ
ต่างร่วมจับ มือกัน ยันเหตุผล
อยากเห็นจัด วัดวา พัฒนาตน
ขอทุกคน จงรัก สามัคคี
มาร่วมสร้าง วัดใหม่ ใหญ่อีกครั้ง
ร่วมเดินทาง ยาวไกล ในครั้งนี้
อย่าสิ้นหวัง ท้อแท้ แก่ไพรี
บุญเรามี จงร่วมสร้าง เส้นทางบุญ
ทั้งไทยลาว เขมร และเวียดนาม
จงเห็นตาม ร่วมใจ ให้อุดหนุน
สร้างวัดใหญ่ ประจำเมือง เรืองวิบูลย์
จะทุ่มทุน มากอย่างไร ให้รู้กัน
จะได้เป็น บุคคล ประวัติศาสตร์
ผู้องอาจ กล้าสู้ด้วย ช่วยสร้างสรร
อย่าลังเล จงรุ่งโรจน์ โปรดช่วยกัน
จะเนิ่นนาน กี่ปี นี้อย่ากลัว
พระสู้สู้ โยมอุดหนุน ทุกคนพร้อม
อย่าไปยอม มารในจิต คิดสลัว
จงมุ่งมั่น ห้าวหาญ กันระรัว
อย่าไปกลัว สิ่งใด ให้ร่วมเดิน
เอาอาวุธ คือศรัทธา มาต่อสู้
เหล่าศัตรู จะเปิดทาง ไปห่างเหิน
วิริยะ ขับเคลื่อน เป็นเพื่อนเดิน
สติเกิน สาดสู้ อยู่ด้วยธรรม
อีกสมาธิ จงแน่วแน่ แก่กายจิต
อย่าไปคิด วอกแวก แทรกถลำ
บุ่มปัญญา สาดแสง ด้วยแรงธรรม
ก็จะนำ ให้สมเจตน์ สำเร็จเอย...
รีบเก็บภาพและรีบชมกันนะ กุฏิศาลานี้ของวัดออสติน ที่ผ่านกาลเวลายาวนาม ๒๐ กว่าปีมาแล้ว แต่ปี ๒ ปีข้างหน้านี้ อาจจะต้องได้ทุบทิ้ง สร้างใหม่ ตอนนี้กำลังดำเนินการติดต่อสร้างศาลาใหม่อยู่ และทางเอิ็นจีเนีย เขาแนะนำให้ทุบกุกิเก่าออก แล้วสร้างกุฏิใหม่แทนที่เก่า ซึ่งปัจจุบันนี้เก่ามากแล้ว เป็นรังแห่งหนูและแมลงสาป หากไม่มีปัญหาอะไรติดขัด คงได้ทำการสร้งกุฏิหลังใหม่กัน ติดตามข่าวสารการก่อสร้างกุฏิใหม่ได้ อีกเว็บ


1 ความคิดเห็น: