เจ้าอาวาส


พระครูสมุห์แรม ขนฺติมโน
.....................
ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นพระครูฐานา ของ พระราชพุทธิวิเทศ ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา 
เมื่อวันอาทิตย์ที่  ๗ ธันวาคม ๒๕๕๗  ณ อุโบสถ วัดพุทธาวาส เมืองฮิวส์ตั้น รัฐเท็กซัส
คลิ๊กเพื่อดูหน้าที่ของเจ้าอาวาส 




พระ-    ผู้มี จิตใจ ไม่ย่อท้อ
ครู-      เกิดก่อ ปฐม บนเมืองหลวง
สมุห์-   ยศ  อันดับสาม  ตามครรลอง
แรม-    ชื่อก้อง  งานนี้ ดีนักเลย
ขันติ-    ธรรม นำฉายา หาใครเทียบ

มโน-    เฉียบ สู้งาน ท่านไม่เฉย
เจ้า-     คุณเห็น พระองค์นี้ ดีจังเลย
อา-      เอื้อนเอ่ย มอบยศ ปรากฏนาม
วาส-     สถาน  ในออสติน ถิ่นอเมริกา
วัด-       สง่า  พร้อมสรรพ  รัตน์ทั้งสาม
พุทธ-    ธรรม  นำเวไนย์  ให้เห็นตาม
นานา-    งาม  พุทธชน  บ่มจิตใจ
ชาติ-     ทุกชาติ ร่วมกิจกรรม นำประกาศ
เมือง-     องอาจ ของอเมริกา  สง่าใส
ออสติน-  ถิ่นพระครู  สู้ขาดใจ
รัฐ-          ยิ่งใหญ่ อันดับต้น คนรู้กัน
เท็กซัส-   นี้  รัฐใหญ่ วิไลเขต
               ถิ่นปกเกศ  วิเทศชน คนขยัน
               ดีหลายอย่าง  ยากสรรเสริญ  เกินจำนรรจ์
               อภิวันท์  สาธุ  พระครูแรม





































ดูภาพบรรยากาศการรับพัดทั้งหมด (คลิ๊ก)

เจ้าอาวาสในอดีต (คลิ๊ก)


3 ความคิดเห็น:

  1. ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๓๗ บัญญัติหน้าที่ของเจ้าอาวาสไว้ดังนี้

    (๑) บำรุงรักษา จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี

    (๒) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฏมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม

    (๓) เป็นธุระในการศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์

    (๔) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล

    ตามมาตรา ๓๗ (๑) คำว่า “บำรุงรักษา” นั้นก็หมายถึง การะวังรักษาเพื่อให้คงอยู่ รักษาให้อยู่ในสภาพดี ทำให้งอกงาม ทำให้เจริญ ดังนั้นการบำรุงรักษานอกจากดูแลรักษาวัดและสิ่งก่อสร้างต่างๆภายในวัดไม่ว่าจะเป็น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ โรงครัว ห้องน้ำ เหล่านี้ให้อยู่ในสภาพดีแล้ว ยังจะต้องพัฒนา ปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วย อาทิเช่น การทำทางลาดให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ให้สามารถใช้ห้องน้ำได้โดยสะดวก การทำห้องน้ำให้ ผู้พิการโดยเฉพาะ การปรับเปลี่ยนห้องส้วมเป็นแบบชักโครกเพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ได้ เป็นต้น ก็เป็นตัวอย่างในการพัฒนาห้องน้ำห้องส้วมภายในวัดให้ดีขึ้น สะอาดขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวหากท่านเจ้าอาวาสให้ความสำคัญก็จะได้รับการพัฒนา และได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งพระเณรในวัดหรือพุทธบริษัท แต่บางเรื่องนั้นหากท่านเจ้าอาวาสได้ดำเนินการตามหน้าที่แต่พระลูกวัดบางรูปเกิดไม่เห็นด้วยกับการกระทำจนกลายเป็นข้อพิพาทขึ้นระหว่างเจ้าอาวาสกับพระลูกวัดจนต้องนำเรื่องราวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

    ดังคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๙๕/๒๕๑๗ คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นพระลูกวัดฟ้องเจ้าอาวาสเป็นจำเลยที่ ๑ กับพวก โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าพนักงานโดยเป็นเจ้าอาวาส มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินของวัดและปกครองพระภิกษุซึ่งอยู่ในวัด ได้สั่งให้จำเลยที่ ๒ ซึ่งเคยเป็นพระภิกษุในวัดกับพวกเข้าไปในกุฏิและงัดกุญแจห้องของโจทก์ กับรื้อถอนกุฏิอันเป็นเคหสถานในความครอบครองของโจทก์ จำเลยที่ ๒ กับพวกได้งัดกุญแจห้องของโจทก์แล้วรื้อถอนกุฏิทั้งหลังตามคำสั่งของจำเลยที่ ๑ ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหาย การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เสื่อมค่าซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ นอกจากนี้การกระทำของจำเลยที่ ๑ ยังเป็นการปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ ๒ เป็นการสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ ๑ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๘๓, ๘๔, ๘๖, ๑๕๗, ๓๕๘, ๓๖๒, ๓๖๔, ๓๖๕

    ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ให้ประทับฟ้องโจทก์เฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๕๘, ๓๖๒, ๓๖๕

    ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์

    โจทก์อุทธรณ์

    ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

    โจทก์ฎีกา

    ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ ๑ สั่งให้รื้อกุฏิ ๖ หลัง รวมทั้งกุฏิที่จำเลยที่ ๑ อาศัยอยู่ด้วย รื้อกุฏิที่จำเลยที่ ๑ อาศัยอยู่กับกุฏิอื่นๆรวม ๔ หลัง ก่อนรื้อกุฏิที่โจทก์อาศัยอยู่ เป็นการสั่งให้รื้อเพื่อไปปลูกรวมกับกุฏิที่อยู่ทางทิศเหนือของโบสถ์ อันเป็นการกระทำเพื่อให้กุฎิรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน เป็นการบำรุงรักษาจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ซึ่งจำเลยที่ ๑ ในฐานะเจ้าอาวาสของวัดมีอำนาจกระทำได้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๓๗ (๑) การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

    พิพากษายืน

    จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวข้างต้นก็พอเป็นแนวทางให้เจ้าอาวาสได้ยึดเป็นแนวทางในการพัฒนา ศาสนวัตถุภายในวัดให้ดีขึ้น เหมาะกับการใช้งาน และเกิดประโยชน์สูงสุด บทความนี้เป็นบทความแรกที่กระผมได้เขียนรับใช้แด่พระสังฆาธิการหรือผู้ที่สนใจในกิจการพระพุทธศาสนา หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ หากมีข้อเสนอแนะหรือสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อได้ทางอีเมล์ udomsakchuto@hotmail.com

    ตอบลบ
  2. หน้าที่เจ้าอาวาส จากเว็บไซต์
    http://sta.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=335&Itemid=346

    ตอบลบ